รังสีอัลตราไวโอเลต (UV) คืออะไร

แสงอัลตราไวโอเลต เป็นรังสีที่มาพร้อมกับแสงแดด ในชีวิตประจำวัน รังสีอัลตราไวโอเลต คือ รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่มีความยาวคลื่นในช่วง 100 - 400 นาโนเมตร ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เนื่องจากช่วงความยาวคลื่นไม่ถึงช่วง Visible Light ที่มนุษย์สามารถมองเห็นได้ จึงทำให้รังสีอัลตราไวโอเลต มีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า รังสีเหนือม่วง นั่นเอง

ประเภทของรังสีอัลตราไวโอเลต มีอะไรบ้าง

คลื่นอัลตราไวโอเลต แยกออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ UVA UVB คือ รังสีที่เรามักจะพบได้ในชีวิตประจำวัน ส่วน UVC จะเป็นรังสีอันตรายที่ถูกกั้นเอาไว้ในชั้นบรรยากาศ เราจึงไม่ได้สัมผัสกับรังสีนี้ในชีวิตประจำวัน โดยรังสีแต่ละชนิด มีลักษณะที่แตกต่างกัน ดังนี้

การป้องกันด้วยวิธีง่าย ๆอาจช่วยลดความเสี่ยงจากการได้รับรังสีอัลตราไวโอเลต
1. รังสี UV-A
ที่มีระดับความเข้มแสงต่ำสุด ความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 315-400 นาโนเมตร มีความโปร่งใส ซึ่งสามารถทะลุเข้าไปทำร้ายได้ลึกถึงชั้นผิวที่มีคอลลาเจน และอีลาสตินอยู่ ทำให้ผิวเกิดริ้วรอยได้ง่าย ผิวแก่ก่อนวัย เหี่ยวย่น เกิดจุดด่างดำสามารถทำให้ผิวเป็นสีแทนได้ 1. รังสี UV-A ที่มีระดับความเข้มแสงต่ำสุด ความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 315-400 นาโนเมตร มีความโปร่งใส ซึ่งสามารถทะลุเข้าไปทำร้ายได้ลึกถึงชั้นผิวที่มีคอลลาเจน และอีลาสตินอยู่ ทำให้ผิวเกิดริ้วรอยได้ง่าย ผิวแก่ก่อนวัย เหี่ยวย่น เกิดจุดด่างดำสามารถทำให้ผิวเป็นสีแทนได้

2 รังสี UV-B
มีระดับความเข้มแสงปานกลาง ความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 280-315 นาโนเมตร ในแสงแดดจะมี UVB มีประมาณ 5% ถึงแม้จะทำร้ายผิวได้ไม่ลึกเท่า UVA แต่ UVB จะเป็นตัวการทำให้ผิวของเราไหม้แดด แสบแดง เป็นฝ้า เป็นกระ ทำให้ผิวแห้งกร้าน

3. รังสี UV-C
ระดับความเข้มข้นสูงสุด ความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 100-280 นาโนเมตร ที่มีความสามารถในการทำลายเชื้อโรคไม่ว่าจะเป็น แบคทีเรีย ไวรัส ราเส้นใย ยีสต์ เป็นต้น รังสียูวีซีนี้เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์มาก การสัมผัสในระยะสั้นอาจทำให้ผิวหนังไหม้ได้ หากสัมผัสเป็นเวลานานอาจจะก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้
หากได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตในปริมาณมากติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจส่งผลกระทบต่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ผลกระทบต่อผิวหนัง ตั้งแต่ปัญหากวนใจเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ผิวคล้ำแดด ริ้วรอย ไปจนถึงอาการแพ้แดด ผิวไหม้จากแดด และอาจรุนแรงถึงขั้นเป็นมะเร็งผิวหนังได้

ผิวคล้ำแดด เมื่อผิวหนังสัมผัสกับรังสียูวี ร่างกายจะสร้างเม็ดสีเมลานิน (Malanin) ขึ้นมาเป็นเกราะป้องกันผิวหนัง ทำให้ผิวมีสีคล้ำขึ้น เนื่องจากยูวีเอจะไปกระตุ้นการสร้างเม็ดสีของเซลล์ผิวชั้นนอก ส่งผลให้ผิวคล้ำขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่จะกลับมาเป็นสีปกติได้ในเวลาไม่นาน ส่วนยูวีบีนั้นไม่ทำให้ผิวคล้ำขึ้นในทันที แต่อาจเกิดขึ้นหลังจากผ่านไปแล้วประมาณ 3 วัน และใช้เวลานานหลายสัปดาห์จึงกลับเป็นปกติ นอกจากนี้ ยูวีบียังส่งผลให้ผิวชั้นหนังกำพร้าหนาขึ้นอีกด้วย
ผิวไหม้จากแดด เกิดขึ้นเมื่อได้รับรังสียูวีบีในปริมาณสูงจนทำให้เซลล์ผิวหนังชั้นนอกถูกทำลาย ผู้ที่มีอาการรุนแรง ผิวหนังอาจลอก เป็นแผลพุพอง และรู้สึกเจ็บปวด อีกทั้งเซลล์ผิวหนังที่ถูกสร้างขึ้นใหม่จะไวต่อรังสียูวีและบอบบางกว่าเซลล์ผิวเดิม ส่วนผู้ที่อาการไม่รุนแรงจะมีเพียงผื่นแดงขึ้นบริเวณผิวหนังที่โดนแสงแดดและค่อย ๆ หายเป็นปกติใน 2-3 วัน ทั้งนี้ การมีผิวไหม้จากแดดอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งผิวหนังได้ด้วย
ริ้วรอย รังสียูวีเอเดินทางทะลุผ่านผิวหนังชั้นนอกไปยังชั้นหนังแท้ และส่งผลต่อกระทบต่อโครงสร้างของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันได้ ทำให้ผิวสูญเสียความยืดหยุ่น เป็นต้นเหตุของริ้วรอยและความหย่อนคล้อย
อาการแพ้แดด เกิดกับผู้ที่ผิวหนังไวต่อรังสียูวี แม้ได้รับในปริมาณเพียงเล็กน้อยก็ก่อให้เกิดอาการแพ้คล้ายผิวไหม้ได้ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากอาหารที่บริโภค เครื่องสำอาง หรือยาบางชนิด เช่น ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาแก้ปวด ยาระงับประสาท ยาปฏิชีวนะ ยารักษาโรคซึมเศร้า ยารักษาเบาหวานชนิดรับประทาน ก่อนใช้ยาใด ๆ จึงควรอ่านฉลากหรือปรึกษาเภสัชกรถึงผลข้างเคียงทุกครั้ง
มะเร็งผิวหนัง รังสียูวีทำให้เกิดอนุมูลอิสระที่เป็นอันตรายต่อเซลล์ในร่างกาย นอกจากนั้น รังสียูวียังเข้าทำลาย DNA ของเซลล์ผิวหนังได้โดยตรง ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้
ผลกระทบต่อดวงตา ร่างกายสร้างอวัยวะและกลไกต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อปกป้องดวงตา ไม่ว่าจะเป็นคิ้ว ขนตา หรือการหดและขยายรูม่านตา อย่างไรก็ตาม กลไกเหล่านี้ป้องกันดวงตาจากรังสียูวีได้อย่างจำกัด ผู้ที่ต้องเผชิญกับรังสียูวีปริมาณสูงอย่างต่อเนื่องอาจเกิดผลกระทบต่อดวงตา 
การป้องกันด้วยวิธีง่าย ๆอาจช่วยลดความเสี่ยงจากการได้รับรังสีอัลตราไวโอเลต

อันตรายจากรังสียูวี ป้องกันได้ด้วย

ฟิล์มกรองแสง AMERICANKING Ultra UV400  

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม :
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้